ฝีคัณฑสูตร


โดย  ยส  พฤกษเวช
ฝีคัณฑสูตร

             ฝี ( abscess ) เป็นกลุ่มของหนอง  ซึ่งเป็นซากของเม็ดเลือดขาว ชนิด นิวโตรฟิล ( neutrophill ) ที่ตายแล้ว สะสมอยู่ในโพรงของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย หรือปรสิต ( กิมิชาต ) หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่น ๆ เช่น  เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม  ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรค  เพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
     
จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น  ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ   ซึ่งทำให้เม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุก

โครงสร้างของฝี ภายนอกจะประกอบด้วยผนังของแคบซูลล้อมรอบ  ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่น ๆ   อย่างไรก็ตาม แคบซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรีย หรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้

ฝี เป็นการอักเสบของต่อมไขมันและขุมขน  พบได้บ่อยในคนทุกวัย  ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือกินสเตียรอยด์เป็นประจำอาจเป็นฝีได้บ่อย   ส่วนใหญ่มักขึ้นหัวเดียว บางรายอาจขึ้นหลายหัวติด ๆ กัน เรียกว่าฝีผักบัว 


ฝีคัณฑสูตร  เป็นภาวการณ์ติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมชนิดหนึ่ง  ที่อยู่ในบริเวณขอบก้นที่สร้างเมือกหล่อลื่นขณะขับถ่าย  อาจเกิดการอุดตันทำให้เกิดการอักเสบบริเวณที่อุดตันและเป็นท่อของต่อมที่หลั่งเมือกใสหล่อเลี้ยงบริเวณเยื่อบุในรูทวาร  ต่อมามีการติดเชื้อและอักเสบทำให้เกิดการเป็นฝีบริเวณกล้ามเนื้อหูรูดทวาร  เมื่อฝีเกิดขึ้นจะดันหนองไปอยู่ตาม ช่องว่างต่าง ๆ รอบ ๆ รูทวาร อาจแตกเองหรือไม่แตกก็ได้

อาการของโรค  ในระยะแรกอาจมีอาการปวดเป็นสำคัญ   เนื่องจากมีการอักเสบ อาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วย มักปวดตลอดเวลา   ต่อมาถ้าแตกเองก็จะยุบลงและหายปวด   ถ้ายังไม่แตกก็จะมีอาการบวมมากขึ้นอาจชอนไชไปแนวรอบ ๆ ก้น  คลำได้เป็นไตแข็ง ๆ   แต่ถ้าแตกออกก็จะมีลักษณะเป็นเมือกใส ๆ ปนหนอง ออกมา  เป็น ๆ หาย ๆ  พอรับประทานยาแก้อักเสบก็จะยุบลง  บางครั้งหนองก็หายไป  แต่ถ้าภูมิต้านทานต่ำ  เช่น  ดื่มเหล้า เป็นไข้หวัด ก็จะมีน้ำเมือกใสปนหนองออกมาติดกางเกงใน ให้รำคาญเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เรื่อยไป

โดยทั่วไปฝีคัณฑสูตร มี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่อยู่ตื้น และชนิดที่อยู่ลึก ชนิดตื้นรักษาง่ายกว่า และมีโอกาสกลับมาเป็นใหม่น้อยกว่าชนิดที่อยู่ลึก

ฝีคัณฑสูตร ในทัศนะแพทย์แผนไทย

เป็นสภาวะการติดขัด อุดตัน ของสมุฏฐาน ปิตตะ วาตะ เสมหะ ที่บริเวณ ท่อ ( อากาศธาตุ ) ของต่อมที่หลั่งเมือกหล่อเลี้ยง บริเวณเยื่อบุในรูทวาร  กล่าวคือ เกิดการอุดตันของเมือกหล่อลื่น ( เสมหะ ) ทำให้การไหลเวียน ( วาตะ ) ติดขัด  เกิดการสะสมพอกพูน ( ลมจับตัวเป็นก้อน ) นานเข้ามีการติดเชื้ออักเสบจึงเกิดความร้อน ( ปิตตะ )  และมีแรงดันเกิดขึ้น  เพื่อที่จะขับออกจากร่างกาย  ซึ่งเป็นขบวนการปกติของร่างกายที่จะต้องขับพิษออก  เอามือคลำดูจะพบเป็นขอบบวม นูน และเจ็บปวดอย่างมาก  และบางครั้งก็มีไข้ร่วมด้วย

อาการปวดมักปวดตลอดเวลา  ต่อมาถ้าแตกหนองไหลออกมา ก็จะยุบลงและหายปวด  ถ้ายังไม่แตกก็จะมีอาการปวดบวมมากขึ้น  และอาจชอนไชเป็นแนวรอบ ๆ ก้น เป็นไตแข็ง ๆ   ถ้าแตกออกจะมีลักษณะเป็นเมือกใสปนหนองออกมา เป็น ๆ หาย ๆ  และหากมีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เช่น ดื่มสุรา หรือเป็นไข้หวัดใหญ่ ก็จะมีน้ำเมือกใสออกมา เป็น ๆ หาย ๆ อยู่เรื่อยไป


สาเหตุ เหตุทำให้เกิดฝีคัณฑสูตร  หากจะกล่าวอย่างกว้าง ๆ คือ   ร่างกายมีการสะสมพิษไว้มาก และร่างกายพยายามขจัด หรือขับออก  แต่ขับออกออกทางช่องทางปกติไม่ได้  จึงพยายามขับออกทางท่อของต่อมที่หลั่งเมือกหล่อเลี้ยงบริเวณเยื่อบุในรูทวาร   และสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีการสะสมพิษและเกิดการขับออกอย่างผิดปกติมีดังนี้ คือ

- ธาตุทั้ง ๔ พิการ  ทำงานผิดปกติหรือหย่อนประสิทธิภาพ  สังเกตจากการทำงานของระบบทางเดินอาหารหย่อนประสิทธิภาพลง หรือเกิดภาวะเสื่อมที่เรียกว่า กษัย  บางครั้งมีภาวะเยื่อบุลำไส้ส่วนล่างอาจเป็นแผลหรือเกิดริดสีดวงทวาร   ของเสียเกิดการสะสมในบริเวณนี้อย่างมาก

- อาหาร  มีพฤติกรรมการกินอาหารที่แสลงกับร่างกายโดยไม่รู้ตัว อาหารที่มักก่อโรค คือ อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน อาหารหวาน อาหารมัน อาหารเหม็น อาหารคาว

- อุจจาระ  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีภาวะท้องผูกเรื้อรัง และอุจจาระแข็ง

- ออกกำลังกาย  มีภาวะที่ขาดการออกกำลังกายอย่างรุนแรง

- อิริยาบถ  มักมีอิริยาบถ นั่ง นิ่ง เนิ่นนาน เป็นประจำ ควบคู่กับการขาดการออกกำลังกาย

- อารมณ์  มักเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้ มักโกรธง่าย อาฆาต พยาบาท เครียดอยู่เสมอ ๆ


แนวทางการรักษา  แบ่ง เป็น ๒ ระยะ ดังนี้

๑. ระยะแรก  ต้องหยุดภาวะอักเสบ บวม แดง ร้อน โดยพิจารณาดังนี้

๑.๑. ถ้าฝีบวม แดง ปวด มีหนองเหลืองข้นไหลออกมา มีไข้ ปากแห้ง อุจจาระเหนียวหนืด ชีพจร ใหญ่ ลอย ลื่น เร็ว  เป็นลักษณะชีพจรเสมหะปิตตะนที   ซึ่งเกิดจากมีเสมหะสะสมภายในและเกิดการอักเสบขึ้นมา
ให้ยาต้านฝีหนองร่วมกับยาลดการอักเสบ   เมื่อการอักเสบยุติลงแล้วให้ยาต้านฝีหนองร่วมกับยากระตุ้นการไหลเวียนและยาระบาย ถ่าย ขับ ของเสียออกจากร่างกาย  และให้ยาบำรุงร่างกายเพื่อเป็นการปรับธาตุ

๑.๒ . หากฝี ที่มีอาการปากท่อภายนอกปิด บวม แดง ปวด ร้อน เกิดจากการติดเชื้อระยะเฉียบพลัน มีไข้ หนาวสั่น อุจจาระแห้ง มีปัสสาวะสีเข้มแลน้อย ลิ้นแดง มีฝ้าเหลือง   ชีพจรตึง เร็ว ลอย เป็นชีพจรปิตตะนที พิษร้อนแกร่ง  ต้องรีบให้ยาลดการอักเสบ ร่วมกับยาต้านฝีหนอง ทุก ๔ ชั่วโมง  เมื่อการอักเสบลดลง ก็ลดยาแก้อักเสบ เหลือวันละ ๓ เวลา และเมื่อการอักเสบหายแล้ว  ให้งดยาแก้อักเสบ  แต่ให้ยาต้านฝีหนองต่อไปและเข้าสู่การรักษาระยะที่ ๒

๑.๓. หากฝี ปากท่อภายนอกบุ๋ม แผลไม่สด น้ำหนองน้อยและไม่ร้อนไม่ปวด  ร่างกายผอม มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงบ่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ลิ้นแดง ฝ้าน้อย   ชีพจรเล็ก เร็ว ไม่ลอย มักอยู่ลึก เป็นลักษณะเสมหะพร่องนที  แสดงถึงความเสื่อมของร่างกาย เลือดน้อย  ร่างกายมีภาวะขาดการบำรุง  ให้ยาต้านฝีหนอง ยาบำรุงร่างกาย ยาระบาย ถ่าย ขับ พิษออกจากร่างกาย ให้ยากระตุ้นการไหลเวียน

๒. ระยะที่สอง เป็นการรักษาระยะยาว  การรักษาฝีคัณฑสูตรจะให้ได้ผลเด็ดขาดต้องใช้เวลาพอสมควร ผู้ป่วยต้องมีความอดทนสูง  และหมอต้องหมั่นคอยติดตามผลการรักษาอยู่เสมอ  คอยปรับยาเป็นระยะ ๆ ต้องทำการปรับธาตุ  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินการอยู่ที่เป็นปรปักษ์กับสุขภาพ  และเอื้อให้เกิดฝีคัณฑสูตร   ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูร่างกาย  การบำรุงร่างกาย  การระบาย ถ่าย ขับ ของเสียหรือพิษออกจากร่างกายอยู่เสมอ เป็นระยะ ๆ

พฤติกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยนของผู้ป่วยมีดังนี้

- อาหาร  หลีกเลี่ยงอาหารที่แสลงกับธาตุ แต่ละคนจะมีอาหารแสลงไม่เหมือนกัน ต้องค้นหาให้พบ และหลีกเลี่ยงอาหารที่แสลงโรค ที่สำคัญคือ อาหารที่รสเผ็ดร้อน อาหารคาว อาหารหวาน อาหารมัน เหล้า บุหรี่

- อุจจาระ  ต้องไม่ปล่อยให้เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรัง ต้องถ่ายอุจจาระให้ได้วันละ ๒ ครั้ง

- ออกกำลังกาย  ต้องหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนของร่างกาย

- อิริยาบถ   หลีกเลี่ยงสภาวะ นั่ง นิ่ง เนิ่นนาน

- อารมณ์   ควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติ ไม่โกรธหรือโมโหง่าย  ฝึกการปล่อยวาง

- การพักผ่อน  ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อฟื้นฟูภูมิต้านทาน ไม่หักโหมทำงานหนัก ห้ามยกของหนัก



หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำตามที่กล่าวมาได้รับรองว่าการรักษาฝีคัณฑสูตร หายแน่นอน และจะไม่กลับมาเป็นอีก
                                    

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต               

กลุ่มยาของคลินิกที่ใช้บรรเทาอาการฝีคัณฑสูตร  ประกอบด้วย


 

 ยาแก้ลมพฤกษเวช          ยาบุพโพพฤกษเวช              ยาต้านฝีหนอง

1 ความคิดเห็น: